การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ DNA

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ DNA

ภาพการเปรียบเทียบลายพิมพ์ DNA

ของผู้ต้องสงสัยกับคราบเลือดฆาตกร

                จากภาพด้านบนที่มีการเปรียบเทียบลายพิมพ์ 

DNA ของผู้ต้องสงสัยทั้ง 7 คน  จะเห็นได้ว่า 

 ผู้ต้องสงสัยหมายเลข 4 มีลายพิมพ์ DNA 

ใกล้เคียงกับหลักฐานคราบเลือดในที่เกิดเหตุมากที่สุด 

จึงอาจสรุปได้ว่าเป็นฆาตกร ปัจจุบันการตรวจลายพิมพ์

 DNA จะใช้เทคนิค PCR เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่าย  รวดเร็ว 

 ประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ตัวอย่างเลือดในปริมาณที่น้อยในประเทศไทย
                การตรวจลายพิมพ์ 
 การตรวจลายพิมพ์               

  การตรวจลายพิมพ์ DNA เริ่มโดยกลุ่มนักวิจัยจากหลาย

สถาบันร่วมกันทำงานอย่างต่อเนื่อง  โดยการตรวจพิสูจน์

ความสัมพันธ์ทางสายเลือด 

 การหาตัวคนร้ายในคดีฆาตกรรม 

 การสืบหาทายาทที่แท้จริงในกองมรดก 

 นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการตรวจคนเข้าเมืองให้ถูกต้อง 

 กรณีการให้สัญชาติไทยแก่ชาวเขาและชนกลุ่มน้อย 

เพื่อสืบสาวว่า

 บรรพบุรุษเป็นชาวเขาที่ตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทยหรือ

เป็นชนต่างด้าวที่อพยพเข้ามา ซึ่งมีผลต่อการพิสูจน์ชาติ

พันธุ์และการให้สิทธิ

ในการอาศัยอยู่บนแผ่นดินไทยด้วย  

นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าในอนาคตอาจ

มีการนำลายพิมพ์ DNA มาประยุกต์ใช้แทน การใช้ลายนิ้วมือ

  เพื่อทำบัตรประชาชน  ทำให้สืบหาตัวบุคคลได้ถูกต้องรวดเร็ว  

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีสืบหาตัวบุคคลที่เสียชีวิตในสภาพที่บอก

ไม่ได้ว่าเป็นใคร  เช่น  กรณีเครื่องบินตก หรือ ไฟไหม้               

 ปัจจุบันในประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีห้องปฏิบัติการที่ตรวจลายพิมพ์ 

DNA เช่น  สถาบันนิติเวช  กองพิสูจน์หลักฐาน  สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

 โรงพยาบาลต่างๆ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศิริราช 

โรงพยาบาลเชียงใหม่ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร

1. การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพของมนุษย์  

               ในการใช้เทคโนโลยี DNA เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในมีลักษณะที่ดีขึ้น

 เช่นเดียวกับเป้าหมายหนึ่งคือการในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่อาศัยการผสมพันธุ์

และคัดเลือกพันธุ์ดั้งเดิม แต่ด้วยเทคโนโลยี DNA ทำให้นักวิทยาศาสตร์

สามารถหาได้ว่ายีนที่จะทำให้สัตว์มีลักษณะตามต้องการ เช่น หมูมีไขมันต่ำ 

วัวให้นมเร็วขึ้นและมากขึ้น เมื่อทราบว่ายีนควบคุมลักษณะนั้นคือยีนใด

แล้วจึงย้ายยีนดังกล่าวเข้าสู่สัตว์ที่ต้องกา อีกรูปแบบหนึ่งของการ

ทำฟาร์มในอนาคต คือ การสร้างฟาร์มสัตว์ที่เสมือนเป็น

 โรงงานผลิตยาเพื่อสกัดนำไปใช้ในการแพทย์ ตัวอย่างเช่น

 การสร้างแกะที่ได้รับการถ่ายยีนเพื่อให้สร้างโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของคน

 และให้แกะผลิตน้ำนมที่มีโปรตีนนี้ โปรตีนชนิดนี้จะยับยั้งเอนไซม์ที่

ก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ปอดในผู้ป่วยที่เป็นโรคซิสติกไฟโปรซิส

 (cystic fibrosis) และโรคระบบทางเดินหายใจที่เรื้อรังชนิดอื่นๆ              

  ในการสร้างสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม (transgenic  animal) จะเริ่มจากการแยก

เซลล์ไข่ออกจากเพศเมียและฉีดยีนที่ต้องการเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ไข่ 

(microinjection) ซึ่งจะมีเซลล์ไข่บางเซลล์ยอมให้ยีนดังกล่าวแทรกเข้า

ในจีโนมของนิวเคลียสและแสดงออกได้ จากนั้นทำการผสมพันธุ์

ในหลอดทดลอง (in vitro fertilization) และถ่ายฝากเข้าในตัวแม่ผู้รับ

 เพื่อให้เจริญเป็นตัวใหม่ซึ่งจะมียีนที่ต้องการอยู่โดยไม่จำเป็นต้องมาจากสปีชีส์เดียวกัน


ภาพแอนดี (ANDi) ลิงดัดแปลงพันธุกรรมเรืองแสงตัวแรกของโลก
2. การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรม(trensgenic plant)           

     การสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้มียีนของลักษณะ

ตามที่ต้องการ เช่น การชะลอการสุกของผลไม้ หรือเพื่อยืด

เวลาการเก็บรักษาผลผลิต มีความต้านทานโรคและแมลง

 มีความต้านทานต่อสารฆ่าแมลงมีคุณค่าด้านอาหารมากขึ้น

 เป็นต้น ในพืชสามารถทำได้ง่ายกว่าในสัตว์ เนื่องจากมีการศึกษา

เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในหลอดทดลอง 

ซึ่งสามารถสร้างต้นพืชขึ้นใหม่จากเซลล์เนื้อเยื่อ หรือส่วนต่างๆ

 ของพืชได้เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว ดังนั้นถ้าสามารถ

ถ่ายยีนเข้าสู่เซลล์พืชได้ และพืชนั้นมีเทคโนโลยีการเพาะ

เลี้ยงเนื้อเยื่อพืชรองรับอยู่แล้ว ก็สามารถสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรมได้
ตัวอย่างการสร้างพืชดัดแปลงทางพันธุกรรม ได้แก่
พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มีความสามารถในการต้านทานแมลง

 โดยการถ่ายยีนบีทีที่สร้างสารพิษจากแบคทีเรีย(Bacillua Thuringiensis;BT)

 สารพิษนี้สามารถทำลายตัวอ่อนของแมลงบางประเภทอย่างเฉพาะเจาะจง

 โดยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เมื่อนำยีนที่สร้างสารพิษ

ไปใส่ในเซลล์ของพืช  เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง ยาสูบ มะเขือเทศ

 พืชเหล่านี้สามารถผลิตสารทำลายตัวหนอนที่มากัดกิน 

ทำให้ผลผลิตของพืชเหล่านี้เพิ่มขึ้น ลดการใช้สารเคมีหรือ

ไม่ต้องใช้เลยพืชต้านทานต่อโรค นักวิจัยไทยสามารถดัดแปลงพันธุกรรม

ของมะละกอให้ต้านทานต่อโรคใบด่างจุดวงแหวน ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดหนึ่ง 

โดยนำยีนที่สร้างโปรตีนเปลือกไวรัส (coat  protein  gene) ถ่ายฝากเข้า

ไปในเซลล์มะละกอ แล้วชักนำให้เป็นมะละกอสร้างโปรตีนดังกล่าว

 ทำให้สามารถต้านทานต่อเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้ยังมีการ

ดัดแปลงพันธุกรรมของมันฝรั่ง ยาสูบ ให้มีความต้านทานต่อ

ไวรัสที่มาทำลายได้พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่สามารถต้านสารปราบวัชพืช  

 เช่น  นำเอายีนที่ต้านทานสารปราบวัชพืชใส่เข้าไปในพืช

  เช่น  ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย ทำให้สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช

 ทำให้สารเคมีที่ปราบวัชพืชไม่มีผลต่อพืชดังกล่าวและสามารถ

ใช้ประโยชน์จากดินและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนยังทำ

ได้ง่ายขึ้น ผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นด้วย 

พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารเพิ่มขึ้น  เช่น

 ในกรณีของข้าวที่เป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของโลก 

ได้มีนักวิทยาศาสตร์ นำยีนจากแดฟโฟดิลและยีนจากแบคทีเรีย

 Erwinia  bretaria ถ่ายฝากให้ข้าว  ทำให้ข้าวสร้างวิตามินเอในเมล็ดได้ 

เรียกว่า ข้าวสีทอง(golden rice)โดยหวังว่าการสร้างข้าวสีทอง 

จะมีส่วนช่วยในการลดภาวะการขาดวิตามินในประเทศที่ขาดแคลนอาหาร

ในโลกได้ พืชดัดแปลงทางพันธุกรรมเพื่อให้ยืดอายุของผลผลิตได้ยาวนานขึ้น

โดยนำยีนที่มีผลต่อเอนไซม์ที่สังเคราะห์เอทิลีนใส่เข้าไปในผลไม้ เช่น

 มะเขือเทศ ทำให้มะเขือเทศสุกช้าลงเนื่องจากไม่มีการสร้างเอทิลีนลด

ความเน่าเสียของมะเขือเทศ สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้นและขนส่ง

ได้เป็นระยะทางไกลขึ้น  พืชดัดแปลงพันธุกรรมอื่นๆเช่น 

 ทำให้พืชต้านทานความแห้งแล้ง ต้านทานดินเค็ม 

 ดัดแปลงพืชให้แปลกและแตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับ

ตลาดและความต้องการของมนุษย์มากขึ้น  แต่อย่างไรก็ตามพืชดัดแปลงพันธุกรรม

 (Genetically  Modified  Organism : GMOs) ถึงจะมีประโยชน์มากมาย

แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งทางสังคมเป็นอย่างมากว่าอาจจะไม่ปลอดภัยกับ

ผู้บริโภคและอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ 

ความหลากหลายทางชีวภาพ การมิวเทชันและอาจเป็นอันตราย

ต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้ 3. การปรับปรุงพันธุ์โดยอาศัยวิธีการของ

 molecolar  breeding              ด้วยเทคโนโลยี DNAนำมาสู่การสร้างแบคทีเรีย 

และแผนที่เครื่องหมายทางพันธุกรรมต่างๆ ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์

สามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ 

โดยอาศัยการคัดเลือกจากการตรวจหาจากเครื่องหมายทาง

พันธุกรรมระดับโมเลกุลทดแทนการคัดเลือกจากลักษณะฟีโนไทป์เพียงอย่างเดียว

 ซึ่งทำให้การปรับปรุงพันธุ์ต่างๆทำได้รวดเร็วขึ้นและมีความเป็นไปได้ที่

จะได้พืชหรือสัตว์พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะต่างๆร่วมกันในเวลาที่เร็วขึ้น

                ตัวอย่างการคัดเลือกสายพันธุ์ โดยอาศัยเครื่องหมายทาง

พันธุกรรมระดับโมเลกุลที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การปรับปรุง

พันธุ์ข้าวได้มีการศึกษาว่ายีนที่ควบคุมความทนเค็มนั้น ถูกควบคุม

ด้วยยีนหลายตำแหน่งและพบว่ายีนเหล่านั้นอยู่บนโครโมโซมแท่งต่างๆ

ซึ่งมีลิงค์เกจกับเครื่องหมายทางพันธุกรรมในระดับโมเลกุล

 เมื่อทำการผสมพันธุ์เพื่อถ่ายทอดลักษณะความทนเค็ม 

ก็สามารถใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมเป็นตัวคัดเลือกต้นข้าวในรุ่นลูก
การใช้พันธุศาสตร์เพื่อศึกษาค้นคว้าหายีนและหน้าที่ของยีน

 เนื่องจากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกเซลล์มีโปรตีน เป็นตัวดำเนินกิจกรรมต่างๆของชีวิต

  ดังนั้นหากมีการยับยั้งการทำงานของโปรตีนหรือทำให้เกิดการทำงาน

ผิดปกติของยีนดังกล่าว จะมีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆได้ 

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่สามารถสังเกตได้ คือการเปลี่ยนแปลง

ของฟีโนไทป์นั้น ด้วยการศึกษาย้อนกลับไปว่าการเปลี่ยนแปลง

ดังกล่าวเกิดขึ้นที่โปรตีนใด ยีนใด ก็จะทราบถึงหน้าที่ของยีนอื่นๆนั้นได้

 ซึ่งนั่นคือการชักนำให้เกิดมิวเทชันในสิ่งมีชีวิตหรือการสร้างมิวแทนท์

 (mutant) ที่มีการเปลี่ยนแปลงของฟีโนไทป์บาง

ประการแล้วอาศัยเทคนิคต่างๆทางชีววิทยาระดับโมเลกุล 

เพื่อศึกษาว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่ยีนใด
                
                รศ.ดร.อภิชาติ  วรรณะวิจิตรและคณะ 

จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาลักษณะความหอมของข้าว

พบว่ายีนที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวเป็นยีนด้อย  

จากการศึกษาแผนที่ยีนร่วมกับเครื่องหมายทางพันธุกรรมรวมทั้งการผสมพันธุ์  

การใช้ข้อมูลชีวสารสนเทศ (bioinformation) ของจีโนมข้าว

 ทำให้สามารถระบุได้ว่ายีนความหอมในข้าวอยู่บนโครโมโซมแท่งที่

 8 และสามารถโคลนยีน Os  2AP ซึ่งควบคุมลักษณะความหอมของ

ข้าวได้สำเร็จ โดยพบว่าโปรตีนที่สร้างจากยีน Os  2  AP จะช่วยยับยั้งสาร

ที่ให้ความหอม ซึ่งถ้ายับยั้งการแสดงออกของยีนนี้ก็จะได้ข้าวที่มีความหอม

การศึกษาทางพันธุศาสตร์นั้นสามารถนำไปสู่การค้นพบยีนที่ทำหน้าที่ต่างๆ

 และหากค้นคว้าอย่างลึกซึ้งถึงกลไกลการทำงานต่างๆของยีนนั้นได้ 

ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต

การประยุกต์ใช้เพื่อสิ่งแวดล้อม
                นักเทคโนโลยีชีวภาพมีความพยายามที่จะใช้วิธีการทำพันธุวิศวกรรม

เพื่อสร้างสายพันธุ์จุลินทรีย์ หรือพืชที่มีความสามารถในการย่อยสลาย

สารที่ไม่พึงประสงค์ที่ ปนเปื้อนในดิน น้ำหรือของเสียในโรงงานอุตสาหกรรมหรือ

เหมืองแร่ก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติ อย่างไรก็ดีการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม 

สอดคล้องกับกฎหมายการควบคุมการใช้ GMOs ในแต่ละประเทศ
การประยุกต์ใช้ในเชิงการเกษตร1. การทำฟาร์มสัตว์เพื่อสุขภาพของมนุษย์ 

ในการใช้เทคโนโลยี DNA เพื่อปรับปรุงพันธุ์สัตว์ในมีลักษณะที่ดีขึ้น

 เช่นเดียวกับเป้าหมายหนึ่งคือการในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ที่อาศัยการผสมพันธุ์

 และคัดเลือกพันธุ์ดั้งเดิม แต่ด้วยเทคโนโลยี DNA ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถหา

ได้ว่ายีนที่จะทำให้สัตว์มีลักษณะตามต้องการ เช่น หมูมีไขมันต่ำ

 วัวให้นมเร็วขึ้นและมากขึ้น เมื่อทราบว่ายีนควบคุมลักษณะ

นั้นคือยีนใดแล้วจึงย้ายยีนดังกล่าวเข้าสู่สัตว์ที่ต้องการ 

 อีกรูปแบบหนึ่งของการทำฟาร์มในอนาคต คือ การสร้างฟาร์มสัตว์ที่เสมือนเป็น

 โรงงานผลิตยาเพื่อสกัดนำไปใช้ในการแพทย์ ตัวอย่างเช่น การสร้างแกะ

ที่ได้รับการถ่ายยีนเพื่อให้สร้างโปรตีนที่มีอยู่ในเลือดของคน และให้

แกะผลิตน้ำนมที่มีโปรตีนนี้ โปรตีนชนิดนี้จะยับยั้งเอนไซม์ที่ก่อ

ให้เกิดการทำลายเซลล์ปอดในผู้ป่วยที่เป็นโรคซิสติกไฟโปรซิส 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น